ขอบคุณภาพจาก http://fitztep.com/wp-content/uploads/2014/07/sdjgjsdpg.jpg |
เรื่องมีอยู่ว่า
23 ตุลาคม
เรื่องราวน่าอ่าน
เซกิ รักยูโดเป็นชีวิตจิตใจ พ่อแม่พาไปฝากให้เรียนกับอาจารย์ที่เก่งที่สุดในเมือง อาจารย์ปฏิเสธ และบอกให้ไปเล่นอย่างอื่นเถอะ เซกิไม่เปลี่ยนใจ นั่งคุกเข่าหน้าสำนักจนดึกดื่น อาจารย์ส่ายหน้า ยอมแพ้ต่อความมุ่งมั่น
..........
อาจารย์ตกลงรับ เซกิ เป็นศิษย์ แต่มีเงื่อนไขว่าจะสอนพื้นฐานให้ ส่วนระดับสูงกว่านั้นจะสอนให้เพียงท่าเดียว
...........
เซกิ ขอเหตุผล อาจารย์จ้องตาแล้วตอบว่า นักยูโดแขนเดียว อย่างเธอเรียนเท่านี้ก็มากเกินไปแล้ว
..........
เซกิ ก้มหน้ายอมรับ เขาเสียแขนข้างนั้นจากอุบัติเหตุทางรถยนต์เมื่อตอน 4 ขวบ นั่นเป็นจุดอ่อนประการเดียวที่เขายอมรับ แต่ไม่เคยยอมแพ้
..........
อาจารย์ส่งเซกิ เข้าแข่งขันรายการแรกในชีวิต พ่อแม่มาชมพร้อมเตรียมคำปลอบใจไว้ให้ลูกชาย แต่เซกิ ผ่านรอบแรกไปได้อย่างง่ายดายด้วยท่าทุ่มท่าเดียว ที่ซ้อมมากว่า 6 เดือน
.........
เซกิ ผ่านเข้ารอบลึกๆ ด้วยท่าเดียว จังหวะเดียว บางครั้งเซกิ ต้องรออยู่นานจนคู่ต่อสู้ขยับเข้าจังหวะทุ่มที่เขาถนัด กว่าจะรู้ตัว เซกิก็ผ่านเข้าไปสู่รอบชิงชนะเลิศ
.........
คู่ต่อสู้ของเซกิ เป็นแชมป์เก่า โตกว่า แข็งแรงกว่า และแทบจะไม่มีจุดอ่อนที่เซกิจะเอาชนะได้เลย เซกิ กัดฟันรอและรอ จนคู่ต่อสู้เผลอลดการ์ด เซกิทุ่มลงพื้นด้วยท่าเดียวที่เรียนมา และเป็นท่าที่พาเซกิเป็นแชมป์
...........
เซกิ คิดว่าตัวเองอยู่ในความฝัน แขนข้างเดียวกอดถ้วยรางวัลแน่น ก่อนจะเอ่ยถามอาจารย์ว่า "เซ็นเซ ทำไม? ผมถึงชนะได้ด้วยท่าทุ่มท่าเดียว"
..........
เซ็นเซ ยกแขนขึ้นกอดอก แล้วบอกกับลูกศิษย์ว่า "เพราะท่าที่เซ็นเซ ถ่ายทอดให้เธอ เป็นไม้ตายสุดยอดของยูโด ซึ่งมันมีท่าแก้อยู่เพียงท่าเดียวเท่านั้นคือ การยึดมือซ้ายของคู่ต่อสู้แล้วกระชากกลับ"
..........
เซกิ เหลือบตาไปมองไหล่ซ้ายที่ปราศจากแขน บางทีจุดอ่อนที่สุดที่ทุกคนเห็น อาจจะเป็นจุดที่แข็งแกร่งที่สุดของมนุษย์อย่างเซกิ
..........
ผมอ่านเรื่องนี้และเห็นภาพข้างบนนั้นแล้วย้อนกลับมาดูตัวเอง
ผมมีร่างกายที่ครบถ้วนสมบูรณ์ แต่ไม่ได้มีจิตใจมุ่งมั่นมากมาย ผมอยู่กับความเรื่อยเฉื่อยสบาย เคลื่อนไหวไปตามจังหวะชีวิต
ผมมีความเห็นว่าเมื่อเรายังพะวงกับสิ่งหนึ่ง ติดข้องในสิ่งหนึ่ง เราจะเพลิดเพลินกับสิ่งนั้น จนลืมมองให้รอบด้าน เมื่อมีคนมาชี้ให้เราเห็นอีกด้านหนึ่งเราจึงประหลาดใจ ทำไมเราไม่เคยเห็นมาก่อนเลย มันน่าสนใจมากเลย เราอาจเพลิตเพลิตกับสิ่งใหม่ที่เป็นตัวเราอีกด้านหนึ่ง จนลืมอีกด้านที่เราเคยเพลิดเพลินอยู่ หากเราเห็นทั้งสองด้านพร้อมกันโดยระลึกรู้ว่ามันเป็นสิ่งเดียวกันแล้วทิ้งความเพลิดเพลิน โศกเศร้า ยินดี หวาดกลัว (เรามักโศกเศร้ากับอดีต ยินดีกับปัจจุบัน และหวาดกลัวกับอนาคต) เมื่อความเพลิดเพลินจบลง ความรู้สึกตัวอยู่เฉพาะหน้านั้นน่ายินดียิ่ง
คนขี่จักรยานคะเนวัยประมาณ 40 ต้นๆ เซกิ คะเนจากเรื่องราวประมาณ 20 ต้นๆ
ส่วนผม 60 ต้นๆ
บางครั้งความคิดของเราก็แปรไปตามวัยนะครับ
หมายเหตุ ผมค้นเรื่อง "เซกิ" จาก google พบ 23 รายการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น