วันเสาร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2554

ความรัก การทำร้าย ชะตากรรม และครูของผม

ฟังรายการช่อง ๑๑ เรื่องอะไรจำไม่ได้ มีการพูดคุยกัน เรื่องการคืนการไม้เรียวให้กับครู
มีความคิดหลากหลาย ตี หรือไม่ตี ผมเห็นว่าเราแก้ปัญหาโดยไม่ใช้ปัญญา เราถามกันว่าตีดีหรือไม่ดี คำตอบเป็นปลายปิด พอตัดสินแล้วว่าดี หรือไม่ดี ทุกคนกลับไปหาเหตุผลมาสนับสนุนความคิดนั้น ชีวิตไม่ได้อยู่ที่การตีหรือไม่ตี ผมได้ฟังท่านแรกเป็นอาจารย์จุฬาเท่าที่จำได้ ท่านแสดงทัศนะที่ดีคือไม่ฟันธงว่าตีหรือไม่ตี มันมีทางอื่น อีกท่านเป็นด๊อกเตอร์ปัญญา ท่านว่าเราพัฒนาแล้วควรพ้นไปจากความรุนแรง ครูหยุ่นก็มีก็ระเบียบ มีหลักการและมีความรอบครอบไม่เชื่อในความรุนแรง เด็กจากสุรศักดิ์มนตรี และโยธิน (โรงเรียนผม) ตีคือตี ไม่ตีคือไม่ตี
ผม่เห็นทัศนะ ความเห็นของหลายท่านแต่ ผมยังมีความเห็นว่าคุณอดิศักดิ์ ผู้ดำเนินรายการนำเสนอได้อย่างไม่เป็นการนำเสนอ เป็นการมีวาระซ่อนเร้นบางอย่าง
ไม่มีหลักฐานยืนยันความคิด เป็นเพียงความรู้สึก ถูกผิดไม่รู้ และไม่ควรนำไปอ้างอิงนะครับ
ประสบการณ์ผมคือถูกตีหน้าเสาธงมาแล้ว ได้ดี หรือทำตนตามกฏระเบียบ เพราะถูกตีหรื่อปล่าว ไม่รู้เพราะไม่มีอะไรบ่งชี้อย่างเด่นชัดหรือระบุได้ว่าเกี่ยวข้องกัน

ผมรักครูของผมครับ



ชื่อที่ใช้ใน blog นี้ ก็เป็นนามแฝงที่ตั้งมาจากความเคารพในครูครับ
แต่ครูทั้งสามไม่เคยตีผม แต่ผมก็เคารพ นับถือ ระลึกถึง และทำความดีในทุกวันนี้ เพราะท่านนำทาง อันนี้เป็นครูในโรงเรียน

คุณครูคนแรกของผมคือ แม่ แม่สุวรรณ แม่ผจง แม่ของผม แม่ตี แม่ขนาบ แม่ให้ทุกอย่าง แม่ครับผมรักแม่่
ผมอยากจะบอกว่าแม่ไม่เคยทำร้ายผม แม่สอนผม แม่บอก แม่ห้าม แม่ให้บทเรียนที่ผมไม่ต้องไปทดลองใหม่
แม้ว่าแม่ตีผม ตามที่คนเรียก แต่ผมเรียกว่าแม่สอนผม

ตีหรือไม่ตี ไม่สำคัญ สำคัญที่ว่า ครู แม่ สังคม สอนอะไรผม และผมที่เป็นเด็กเรียนรู้อะไร
โปรดเข้าใจว่า ผมจะเรียนรู้ได้ ต่อเมื่อคุณให้โอกาสผมเรียนรู้ และผมต้องการเรียนรู้
ความต้องการเรียนรู้ของผม มาจากคุณผู้เป็นบุพการี ผู้กระทำให้ก่อน
ผมเรียนรู้แล้ว กตัญญู เป็นสิ่งที่ผมกระทำตอบ

ด้วยจิตนอบน้อม

วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554

ตัณหา พาสู่ นิพพาน

คน คือธรรมดา มีตัณหา ราคะ มีชีวิต มีความต้องการ
มีชีวิตที่มีอนาคต และอดีต
จบวันต่อวัน บนปัจจุบัน
เพื่อไปสู่นิพพาน

วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

วันศุกร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2554

วัฒนธรรมที่ผ่านมา

มีความคิดที่จะถ่ายทอดสิ่งที่ผ่านมาในการทำงาน เป็นเรื่องของการกระทำที่ชนรุ่นหนึ่งได้ประสบ และคิดว่าควรจะสืบต่อไปอย่างน้อยก็ให้เห็นในความเป็นมา เพื่อความยั่งยึนขององค์กร
จั่วหัวว่าวัฒนธรรมที่ผ่านมา เพื่อจะตั้งกรอบการนำเสนอว่า อันนี้เป็นเพียงสิ่งผ่านมาเท่านนั้นนะ ส่วนการสืบต่อเป็นอย่างไรอยู่ที่ผู้ที่จะอยู่ในองค์กรต่อไปเท่านั้นเอง ไม่มีใครรู้อนาคตได้ แต่อดีตแบ่งปันกันได้
ตั้งใจว่าจะเล่าเรื่องนี้ในมิติของ คนทำงานที่ได้สัมผัสกับคน คนที่เป็นนาย คนที่เป็นเพื่อน คนที่เป็นน้อง เล่าว่าผมผ่านมาอย่างไรจากวันเข้าทำงานจนถึงวันออกจากงาน (ตามความตั้งใจจะอยู่จนกว่าจะเกษียณ)
คงจะเป็นเรื่องที่ยาว และเป็นมุมมองของคนเพียงคนเดียว มุมมองของผม
มุมมองที่ผ่านอารมณ์ ความคิด จนถึงไร้คิดและไร้ความรู้สึกแต่รับรู้ได้ เพราะเหตุการณ์ต่างๆ ที่ได้ผ่านมา บางเหตุการณ์นาน บางเหตุการณ์พึ่งผ่าน การนำเสนอในวันและเวลานี้จึงอาจไม่ได้อารมณ์ความรู้สึกเวลานั้น เพราะวัยของคน การมองเห็นย่อมเป็นไปตามกาลเวลา แต่สิ่งที่ต้องการนำเสนอนั้นจะพยายามไม่ตีความ นำเสนอเหตุการณ์ให้ได้รับรู้ก่อน ส่วนการตีความนั้นจะแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งคือความคิด ความรู้สึกในขณะนั้น และอีกส่วนหนึ่งคือความเห็นในขณะนี้ อาจไม่เหมือนกันเป็นเพราะเวลาเป็นเงื่อนไข
ที่ต้องการเริ่มจาก นาย มาถึงเพื่อน และตามด้วยน้องนั้น มีเรื่องราวเป็นไปตามจังหวะของชีวิตการทำงาน
เมื่อเราเข้างานมาแรกเริ่มคงต้องมีนายก่อน นายให้งาน ให้ความรู้ ให้โอกาส และให้อภัยเมื่อเราพลาดแล้วให้ความรู้เพิ่ม ให้โอกาสทำอีก ถ้าเราพลาดอีก นายยังให้อภัยและให้ความรู้ ให้โอกาส เป็นวัฏฏจักรที่หมุนเวียนไปเสมอมาด้วยความเมตตาของนาย
เมื่อมีงาน เราก็มีเพื่อน เพื่อนที่แลกเปลี่ยนกันในการทำงาน สร้างความสำเร็จร่วมกัน เป็นมาและเป็นไป แม้ในความเป็นจริงของงานมีการแข่งขัน ต่อสู้ ดิ้นรน และแย่งชิง แต่เพื่อนก็คือเพื่อน
ผ่านเวลาไปเราก็มีน้องที่ทำงานร่วมก้น ไม่มีน้องก็ไม่มีความสำเร็จ น้องทำงาน ทำเรื่อง ทำสารพัด แล้วเราก็มองเห็นตัวเรา ว่าเราก็ทำอย่างนี้กับนายมาก่อน วงเวียน วัฏฏจักร การทำงาน จึงก่อเกิดวัฒนธรรม วัฒนธรรมที่ผ่านมา ถ้าสอดคล้องเป็นไปตามที่ควร รับใช้เราและผองเพื่อน ทั้งนาย เพื่อน และน้อง ควรได้รับการบันทึกและศึกษา
ไม่ได้หวังอะไรแต่คิดไว้ว่านี่คือสิ่งที่ทำได้เพื่อองค์กร ให้องค์กรได้ ยั่งยืน สืบต่อ จากรุ่นสู่รุน เป็นสันคติที่ไม่ดับสูญ
ด้วยจิตนอบน้อม
ตุ๊ดตู่ ร่าเริง

วันพุธที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2554