แง่มุมของความเป็นมนุษย์
ศ.เกียรติคุณ พญ.วันเพ็ญ บุญประกอบ อาจารย์พิเศษประจำภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล ให้คำนิยามว่า “ความเป็นมนุษย์ คือการเป็นคนดี มีศีลธรรม เป็นคุณความดีภายใน ทำให้เรามีความสบายใจ มีความสุข ใจสงบ”
(http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/healthtips/33435)
“ความเป็นมนุษย์ (Humanize)” คือ มิตรภาพ อารมณ์อ่อนไหว และความเชื่อใจที่มนุษย์พึงมีต่อกัน
(http://www.tcdc.or.th/src/5443/www-creativethailand-org/-ความเป็นมนุษย์-Humanism--สินทรัพย์สำคัญในเศรษฐกิจสร้างสรรค์-Creative-Economy-)
สัปปุริสธรรม ธรรมของสัปบุรุษหรือคนดี หรือธรรมของมนุษย์ผู้มีความเป็นมนุษย์ สมบูรณ์ มี ๗ ประการ ศึกษาให้รู้ให้เข้าใจ แล้วปฏิบัติให้ได้ ก็จักสามารถรักษาคุณค่าแห่ง ความเป็นมนุษย์ทุกประการได้ สัปปุริสธรรม ๗ ประการคือ
1. รู้จักเหตุ ก็คือรู้จักพิจารณาให้รู้ว่าเหตุใดจักให้เกิดผลใด ไม่ด่วนทำอะไรก็ตามโดยไม่พิจารณาให้รู้เสียก่อนว่าเมื่อทำแล้วผลที่เกิดจะเป็นเช่นไร ก่อนจะทำการทุกอย่างต้องรู้ว่า เป็นการทำที่เป็นเหตุดีหรือไม่ดี คือจะก่อให้เกิดผลดีหรือไม่ดี
2. รู้จักผล คือรู้จักว่าภาวะหรือฐานะหรือสิ่งที่ตนกำลังได้รับได้ประสบนั้น เกิดจากเหตุใด เป็นผลอันเกิดจากการกระทำอย่างไร ไม่ด่วนเข้าใจว่าผลดีที่กำลังได้รับอยู่เช่นเงินทอง ของมีค่าที่ลักขโมยคดโกงเขามานั้นเกิดจากเหตุดีคือการลักขโมย แต่ต้องเข้าใจว่าความ ร้อนใจที่กำลังได้รับเพราะเกรงอาญาต่างๆ นั้นแหละเป็นผลของการลักขโมยคือต้องรู้ว่าผล ดีที่กำลังได้รับเกิดจากเหตุดีอย่างไร ผลร้ายที่กำลังได้รับเกิดจากเหตุร้ายอย่างไร ผลร้าย ต้องอย่าเข้าใจว่าเป็นผลดีอย่าเข้าใจว่าเป็นผลร้าย
3. รู้จักตน คือรู้จักตัวเองว่าเป็นใคร อยู่ในภาวะและฐานะอย่างไร การรู้จักตนนี้จำเป็น มาก สำคัญมากเพราะมีความหมายลึกลงไปถึงว่าเมื่อรู้จักตัวเองว่าเป็นใคร มีภาวะและ ฐานะอย่างใดแล้ว จะต้องปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับภาวะและฐานะของตน จะได้รักษาความ มีค่าของตัวไว้ได้ ผู้ปฏิบัติไม่เหมาะสมกับภาวะและฐานะจักเสื่อมจากค่าของความเป็น มนุษย์ที่ตนเป็นอยู่
4. รู้จักประมาณ คือรู้จักประมาณว่าควรทำสิ่งใดเพียงใดที่เป็นการพอเหมาะพอควรแก่ ภาวะและฐานะของตน พอเหมาะพอควรแก่ผู้เกี่ยวข้อง พอเหมาะพอควรแก่เรื่องราว มีพุทธ ภาษิตกล่าวไว้ว่า “ความรู้จักประมาณยังประโยชน์ให้สำเร็จทุกเมื่อ”
5. รู้จักกาล คือรู้จักเวลา รู้ว่าเวลาใดควรทำหรือไม่ควรทำอะไร การทำผิดเวลาย่อมไม่ เกิดผลสำเร็จ ย่อมไม่เกิดผลดีเท่าที่ควร
6. รู้จักประชุมชน คือรู้จักภาวะและฐานะนิสัยใจคอบุคคลนั้นๆ ให้ถูกต้อง เพื่อว่าจะได้ ปฏิบัติตนที่เกี่ยวข้องด้วยให้เหมาะให้ควรแก่ประชุมชนนั้น
7. รู้จักบุคคล คือรู้จักภาวะและฐานะนิสัยใจคอของบุคคลนั้นๆ ให้ถูกต้อง เพื่อว่าจะได้ ปฏิบัติตนที่เกี่ยวข้องด้วยให้เหมาะให้ควร รู้จักว่าเขาเป็นพาลจักได้หลีก รู้จักว่าเขาเป็น บัณฑิตคือคนดีจักได้เข้าใกล้ ให้เหมาะแก่แต่ละบุคคลไป ภาษิตที่ว่า “คบคนพาล พาลพา ไปหาผิด คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล” จักเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อรู้จักบุคคลนี้แหละ
การลดความเป็นคนของคนที่คิดแตกต่าง จนกระทั่งทำร้ายได้อย่างที่เขาไม่ใช่คน
{พระนิพนธ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=7bf910517ed9a7d5)}
...สังคมมนุษย์ที่พึงประสงค์ก็คือสังคมที่มีความสว่างทางปัญญาและมีความรัก ความปรารถนาดีต่อกัน
และแน่นอนว่าต้องเป็นสังคมที่มีเสรีภาพ เพราะเสรีภาพเป็นเงื่อนไขของความสว่างทางปัญญา เราต้องมีเสรีภาพที่จะพูดความจริงได้ ความว่างทางปัญญา (enlightenment) จึงจะเกิดขึ้นได้ สังคมที่ไม่มีเสรีภาพคือสังคมแห่งความมืด เพราะถูกครอบงำด้วยการโฆษณาชวนเชื่อในรูปแบบต่างๆ ที่ตั้งคำถามไม่ได้
{สุรพศ ทวีศักดิ์: พุทธศาสนากับความเป็นมนุษย์ Sat, 2013-09-07 22:47(http://prachatai.com/journal/2013/09/48620)}
ความหมายของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
ศักดิ์ศรี คือ การยอมรับของบุคคลในสังคมในการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ ที่ได้รับการยอมรับของสังคมมนุษย์และเรื่องดังกล่าวต้องเป็นเรื่องดีงามเท่านั้นเรื่องไม่ดี ไม่ให้รวมเรื่องศักดิ์ศรี แม้ว่าพฤติกรรมที่บุคคลกระทำนั้น หรือต้องการกระทำนั้นๆ อาจจะกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่ ก็ได้ถือว่าเป็นเรื่องดีงาม สมควรยกย่องและต้องถือปฏิบัติเพื่อเป็นมติขององค์การ การยอมรับขององค์กรต่างๆ นั้นด้วยก็ได้ สิทธิเสรีภาพหรืออำนาจและหน้าที่ก็ถือเป็นศักดิ์ศรีด้วยเช่นกัน
มนุษย์ คือ บุคคลทั่วไป ไม่เลือกว่าจะเป็นชนชาติใด เผ่า ศาสนา ผิวสี ภาษา และอื่นๆ ที่มีสภาพเป็นที่ยอมรับว่าเป็นส่วนของสังคมตลอดจนองค์กร / องค์การ ที่อาศัยมติเป็นข้อปฏิบัติไปตามประสงค์ขององค์การ
องค์การก็ให้ถือเป็นมนุษย์ด้วยเช่นกัน ดังนั้นคำว่าสิทธิและเสรีภาพของบุคคลในรัฐธรรมนูญให้ถือว่าเป็นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ด้วยเช่นกัน
ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ปี 2540 และ ปี 2550
มาตรา 4 “ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง ”
มาตรา 26 “ การใช้อำนาจ โดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ สิทธิและ
เสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ “
มาตรา 28 “ บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิ และ
เสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือ ไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน “
(http://www.ongkarn-leio.org/knonwlege.php)
สองด้านของความเป็นมนุษย์ พระไพศาล วิสาโล
... ผู้คนส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะมองอะไรเป็นขาว-ดำอย่างชัดเจน ใครที่เป็นคนดีก็ขาวหมด ส่วนคนชั่วก็ดำหมด แต่แท้จริงแล้วขาวกับดำ ดีกับชั่ว ก็ปะปนอยู่ในตัวคนเดียวกัน เมื่อใดก็ตามที่เราเห็นความไม่ดีของใครบางคน แล้วเหมารวมว่าเขาเลวไปหมด เมื่อนั้นก็เป็นการง่ายที่เราจะเห็นเขาเป็นยักษ์มารหรือผีห่าซาตานที่สมควรขจัดออกไปจากโลกนี้ แต่รู้หรือไม่ว่า เพียงแค่คิดเช่นนั้นเราก็กำลังจะกลายเป็นยักษ์มารไปแล้ว
ที่น่าเป็นห่วงก็คือ ทุกวันนี้เราไม่ได้เหมาว่าใครบางคนเป็นคนเลวเพียงเพราะเห็นความไม่ดีบางด้านของเขาเท่านั้น หากยังมีแนวโน้มที่จะมองว่าคนที่คิดต่างจากเราก็เป็นคนเลวไปด้วย ซึ่งหมายความต่อไปว่าคนเหล่านั้นสมควรถูกขจัดให้สิ้นซาก ใช่หรือไม่ว่านี้คือความคิดที่อยู่เบื้องหลังความขัดแย้งในสังคมไทย ...
(http://www.visalo.org/article/jitvivat255203.htm)
ความเป็นมนุษย์กับการเข้าถึงสิ่งสูงสุด ความจริง ความดี ความงาม ประเวส วะสี
...มนุษย์ไม่ว่าอยู่ที่ไหนๆ ก็ล้วนต้องการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ทำให้เกิดหลักการหรือกฎกติกาของการอยู่ร่วมกัน และเมื่อเกิดศาสนาใหญ่ๆ ขึ้น เช่น ฮินดู พุทธ เต๋า คริสต์ อิสลาม สิกข์ ก็มีทั้งทฤษฎีและการปฏิบัติที่ยกระดับจิตใจของมนุษย์ให้สูงได้อย่างสุดๆ ...
...มนุษย์สามารถเข้าถึงสิ่งสูงสุดคือ ความจริง ความดี ความงาม และก็มีตัวอย่างของคนที่เข้าถึงสิ่งสูงสุดให้เห็นได้จริงๆ ว่าเป็นคนที่...
มีอิสระ เบาสบาย มีความสุข มีความรักอันไพศาลต่อเพื่อนมนุษย์และสรรพสิ่ง มีการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ...
(http://www.ebooks.in.th/ebook/6446/ความเป็นมนุษย์กับการเข้าถึงสิ่งสูงสุดความจริง_ความดี_ความงาม/)
ธรรมชาติและความต้องการของมนุษย์ วราภรณ ตระกูลสฤษดิ์
...การศึกษาเรื่องธรรมชาติและความต้องการของมนุษย์ จะช่วยให้เราเข้าใจตนเองและเข้าใจผู้อื่นได้ดีขึ้น และนำไปสู่การยอมรับความแตกต่างของมนุษย์ได้ เพื่อจะได้อยู่ร่วมกับมนุษย์ในสังคมอย่างมีความสุข รู้และเข้าใจความมีอยู่เป็นอยู่จริงตามธรรมชาติของมนุษย์ ...
...อาจกล่าวสรุปได้ว่า ธรรมชาติของมนุษย์มีทั้งดีและไม่ดี นั่นคือ "มนุษย์ทุกคนไม่มีใครดีหมดตั้งแต่ศรีษะจรดปลายเท้า" หมายความว่า "ไม่มีใครที่ดีพร้อมทุกอย่าง แล้วก็ไม่มีใครเลวหมดไปเสียทุกอย่างจนหาข้อดีไม่ได้เลย" ทุกๆ คนล้วนมีข้อดีข้อด้อยของตนเอง เพียงแต่ข้อดีหรือข้อเสีย ฝ่ายใดจะมากน้อยกว่ากัน ถ้าข้อดีมากกว่าข้อเสียก็จะเป็นคนดี หรือถ้าข้อเสียมากกว่าข้อดีก็เป็นคนเลว ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการอบรมเลี้ยงดู และปัจจัยสภาพแวดล้อม...
(http://www.kmutt.ac.th/organization/ssc334/asset1.html)
การสื่อสารที่สร้างความเกลียดชัง Hate speech
การแสดงออกซึ่งความไม่พอใจหรือสนับสนุนรัฐบาลดังกล่าวนับเป็นส่วนหนึ่งในการแสดงออกตามหลักสังคมประชาธิปไตย ที่เคารพซึ่งศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ในอันที่จะอนุญาตให้ความเห็นของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวสาธารณะได้มีพื้นที่ในการแสดงออก อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางการปะทะกันระหว่างสองฝ่ายนี้เอง หลายคนเห็นว่าอาจเป็นการประกาศสงครามเสื้อสีอีกระลอก ที่สามารถกระตุ้นเร้านำไปสู่ความรุนแรงขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
จากปรากฏการณ์ข้างต้นที่หลายฝ่ายกำลังจับตามองน่าจะนำไปเป็นส่วนหนึ่งของกรณีศึกษาที่ว่าด้วยการสื่อสารที่สร้างความเกลียดชัง หรือ ที่ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Hate speech ได้ โดยในการให้คำนิยาม Hate speech ในความหมายระดับสากล หมายถึง วาจาหรือการแสดงออกซึ่งมุ่งสร้างความเกลียดชังต่อปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มคน โดยมีฐานจากอคติเกี่ยวกับเชื้อชาติ ศาสนา เพศสภาพ ความฝักใฝ่ทางเพศ สถานที่เกิด ชนชั้น อุดมการณ์ทางการเมือง หรือคุณลักษณะใดๆ อันเป็นการแบ่งแยกได้ ทั้งนี้ การสร้างความเกลียดชังปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มคนดังกล่าวสามารถพัฒนาไปสู่การแสดงออกซึ่งกระทำและความรุนแรงต่อตัวบุคคลหรือกลุ่มคนนั้นในเชิงกายภาพได้ (Hate crime) เพียงเพราะบุคคลหรือกลุ่มบุคคลนั้นๆ มีอัตลักษณ์ที่เชื่อมโยงกับอคติที่ถูกปลุกเร้าให้เกิดความเกลียดชังนั่นเอง โดยความรุนแรงทางกายภาพจะเกิดขึ้นอย่างเป็นกระบวนการภายใต้การทำให้กลุ่มเป้าหมายที่ถูกเกลียดชังนั้นๆ มีสถานะที่ปราศจากความเป็นมนุษย์ (Dehumanization) ไม่ว่าจะด้วยการทำให้เป็นที่น่ารังเกียจ น่าขยะแขยง เป็นส่วนเกินของสังคม จนทำให้คนในสังคมรู้สึกว่าต้องดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งที่จะทำให้บุคคลหรือกลุ่มคนดังกล่าวหายไปจากสังคมที่ตนเองดำรงอยู่
ทั้งนี้ จากการสำรวจจาก Noriega และ Iribarren นักวิชาการที่เฝ้าสังเกตและติดตามปรากฏการณ์การสังหารหมู่และความรุนแรงอันเกิดมาจาก Hate speech จะพบว่าการสื่อสารที่สร้างเกลียดชังประกอบไปด้วย 1) การบิดเบือนความจริง 2) การสร้างข้อโต้แย้งที่บกพร่อง (Flawed Argumentation) 3) การสร้างความเป็นอื่น (Divisive Language) และ 4) การลดทอนความเป็นมนุษย์ (Dehumanizing Metaphors) ซึ่งเราคงต้องจับตาดูกันอย่างไม่ให้คลาดสายตาว่า การสื่อสารของทั้งกลุ่มเสื้อสี กลุ่มสื่อแยกข้าง รวมถึงกลุ่มหน้ากากอันหลากหลายเหล่านี้ จะข้ามเส้นแบ่งระหว่างเสรีภาพในการแสดงออกไปสู่การเป็น Hate speech หรือไม่ อย่างไร เพราะท้ายที่สุด เราคนไทยคงไม่อยากเห็นปรากฏการณ์แบ่งขั้ว แบ่งสี อันนำไปสู่อาชญากรรมที่กระทำต่อคนไม่รู้จัก แต่เพียงเพราะเขามีแนวคิดและอุดมการณ์ทางการเมืองที่ต่างกันเท่านั้นก็ถือเป็นสาเหตุให้คนไทยสามารถลงไม้ลงมือกันได้
พิจิตรา ศุภสวัสดิ์กุล (http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/pijitra/20130605/509292/จาก-Hate-speech-สู่-Hate-crime-:-จากการเมืองไทยสู่แรงงานพม่า.html)
Livingstone Smith ตั้งข้อสังเกตในหน้า 13 ไว้ว่า “a whole group of people is represented as less than human, as a prelude and accompaniment to extreme violence… Dehumanization isn’t a way of talking. It’s a way of thinking – a way of thinking that, sadly, comes all too easily to us… It acts as a psychological lubricant, dissolving our inhibitions and inflaming our destructive passions. As such, it empowers us to perform acts that would, under other circumstances, be unthinkable.”
[คนทั้งกลุ่มถูกนำเสนอให้ต่ำกว่ามนุษย์ เพื่อเป็นการโหมโรงก่อนมีใช้ความรุนแรงอย่างสุดขั้ว…วาจาและข้อเขียนที่ลดทอนความเป็นมนุษย์ของผู้อื่นไม่ใช่วิธีการพูดแต่เป็นวิธีคิด –วิธีคิดที่ น่าเสียดายว่าเรามีได้ง่ายเหลือเกิน… มันทำหน้าที่เป็นน้ำมันหล่อลื่นทางจิตวิทยา หลอมละลายความรู้สึกยับยั้ง และโหมไฟแห่งความเกลียดชังทำลาย เช่นนี้แล้ว มันทำให้เรามีพลังที่จะทำในสิ่งที่เรามิอาจคาดฝันนึกได้ ในบริบทอื่นๆ]
ในบริบทไทย วาจาข้อเขียนที่ลดทอนความเป็นมนุษย์ก็เสมือนน้ำมันหล่อลื่นช่วยให้ผู้คน ‘สะใจ’ ได้ กับการตายของฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง
ประวิตร โรจนพฤกษ์ (http://mediainsideout.net/research/2013/01/100#sthash.AMo5bVy7.dpuf)(http://mediainsideout.net/research/2013/01/100)
ความขัดแย้ง
ในท่ามกลางสิ่งตรงกันข้าม การอยู่ร่วมกันต้องการความเข้าใจในความเป็นมนุษย์ ความเข้าใจต้องมาจากความเชื่อมั่นและเคารพในความเป็นมนุษย์
มนุษย์มีเลือดเนื้อมีชีวิต ความต้องการความรัก ความเข้าใจ และการยอมรับ
บ่มเพาะด้านที่ถูกใจให้เห็นอย่างยาวนานของสิ่งที่จะประทับไว้ในใจ สร้างศรัทธาและความเชื่อในสิ่งที่ใช้เป็นสัญญลักษณ์
บ่มเพาะด้านมืดเพื่อให้คนรังเกียจ จัดคนหรือกลุ่มคนที่รังเกียจให้เข้าเงื่อนไข กล่าวถึงด้านเดียว สร้างการปฏิเสธของคนหรือกลุ่มคน มุ่งทำลายไม่ให้มีที่ยืน
เมื่อสถานการณ์พร้อม ความเชื่ออย่างฝังใจจึงทำให้มนุษย์ ไม่เห็นความเป็นมนุษย์ พร้อมที่จะกำจัดคู่ขัดแย้งออกจากสังคมด้วยการเข่นฆ่า กระทำต่อคู่ขัดแย้งอย่างไม่เป็นมนุษย์
ทุ่งสังหาร โศกนาฏกรรม "กัมพูชา" ช่วงเขมรแดงเรืองอำนาจหลังจากยึดกรุงพนมเปญได้ในปี 2518 ทั่วทั้งแผ่นดินแดงฉานด้วยเลือด (http://www.thaithesims3.com/topic.php?topic=60560)
วันฆ่าพิราบ 2519 (https://sites.google.com/site/rungsirasite2011/phu-cheiywchay-kar-ptiwati-2/phaph6tulakhm2519)
เทียนอันเหมิน เหตุการณ์นองเลือดเมื่อคืนวันที่ 3-4 มิถุนายน 2532 กองทัพได้ใช้อาวุธเข้าปราบปรามนักศึกษา(http://www.manager.co.th/china/viewnews.aspx?newsid=9520000062391)
รวันดา ชนพื้นเมืองถูกสังหารหมู่ไปประมาณ 800,000-1,071,000 คน ในช่วงเวลา 100 วันตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน ถึง กรกฎาคมในปี พ.ศ. 2537 (http://th.wikipedia.org/wiki/การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รวันดา)
โปรดระงับการเผยแพร่ ความขัดแย้ง ถ้อยคำแห่งความเกลียดชัง โปรดศึกษาให้เข้าถึง ความงาม ความดี ความจริง
ด้วย ปัญญาแห่งมนุษยชาติ ความสงบระงับจะมาสู่สังคมนี้ และสังคมนี้เจริญพัฒนาเมื่อคนเข้าถึง สิ่งสูงสุดในตนโดยแท้
ท่อนต่อ ถ้อยความแห่งรักใคร่